ASEAN
ธงอาเซียน (ASEAN Flag) คือ สัญลักษณ์ของการรวมตัวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ภายใต้คำขวัญอาเซียน “One Vision, One Identity, One Community” หรือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” โดยมีการออกแบบให้มีลักษณะเรียบง่าย แต่สามารถสื่อความหมายการรวมตัวกันของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งธงอาเซียนนี้ถูกออกแบบให้มีพื้นสีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์แทนชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศด้วยต้นข้าวสีเหลืองทอง จำนวน 10 ต้น อยู่กึ่งกลางภายในวงกลมสีแดงและมีขอบของวงกลมเป็นสีขาว
ความหมายของสีต่างๆ ในธงอาเซียน
- สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
- สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
- สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ต้นข้าวสีเหลืองทอง จำนวน 10 ต้นที่ปรากฏอยู่ในธงอาเซียน หมายถึง จำนวนชาติสมาชิก ASEAN ทั้ง 10 ประเทศ อันประกอบไปดวย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทำสัญลักษณ์เพิ่มเติมด้วยการมัดรวมกันเพื่อแทนความหมายของการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ประเทศ
1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
บรูไน เป็นประเทศที่ตลาดเปิดแบบเสรี ภายใต้การดูแลของรัฐ รายได้หลักของประเทศ จะมาจากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และนับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับที่ 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และมีสินค้านำเข้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา โดยเป็นสินค้าประเภท เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และสินค้าเกษตร
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. กัมพูชา (Cambodia)
กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
กัมพูชา เป็นประเทศที่เกิดสงครามภายในมายาวนาน และมีการยุติลงในปี 2534 จึงค่อยๆ มีการพัฒนาประเทศ โดยกัมพูชากำหนดนโยบายมุ่งการพัฒนาทางการเกษตร การท่องเที่ยว และมีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
3. อินโดนีเซีย (Indonesia)
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยภาคการผลิต ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ภาคบริการ ภาคหัตถอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรรธรรมชาติที่มีค่าทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก ทองแดง แร่เหล็ก เป็นต้น
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
4. ลาว (Laos)
ประเทศลาว มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่าง ลาว จีน ไทย เวียดนาม ด้วยภาคผลิตการเกษตร ป่าไม้
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
5. มาเลเซีย (Malaysia)
มาเลเซีย เป็นอีกประเทศที่พึ่งพาเหมืองแร่ และการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ไม้ซุง และดีบุก และมีรายได้หลักมาจากการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้ภายในประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
6. พม่า (Myanmar)
อาชีพหลักของ ประชาชนในประเทศ จะเป็นการเกษตรกร เช่น การปลูกข้าวเจ้า อ้อย และพืชเมืองร้อน การทำเหมืองแร่ การทำป่าไม้ อุตสาหกรรม พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลในเกณฑ์ต่ำ
เมืองหลวง : เนปีดอ
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
7. ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ปัญหาความยากจน เป็นปัญหาที่มีมายาวนาน และมีการกระจายรายได้โดยไม่เท่าเทียมกัน และยังประสบปัญหาราคานำ้มันแพง ฟิลิปินส์ มีสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
8. สิงคโปร์ (Singapore)
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดเสรีทางการค้า และมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงเท่ากับกลุ่มประเทศในยุโรป
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
9. เวียดนาม (Vietnam)
สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
สินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม จะเป็นประเภทสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยังเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะว่า มีประชากรจำนวนมาก และค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งชาวเวียดนาม ยังมีอุปนิสัยขยันอีกด้วย
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
10. ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประเทศไทย มีสินค้าส่งออกได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนประกอบรถยนต์ แผงวรจรไฟฟ้า ยางพารา เม็ดพลาสติก อัญมณีและเครือ่งประดับ และผลิตภัณฑ์เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ รวมไปถึงส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ เงินแท่งและทองคำ
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สวยครับ แต่ข้อสีเพิ่ม
ตอบลบ